วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาพิธีทอดผ้าป่า

พิธีทอดผ้าป่า เป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของชาวพุทธ คล้ายกับพิธีทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนด ระยะเวลาจํากัด คือสามารถจะทอดเมื่อไรก็ได้เช่นกัน อีกทั้งยังไม่เจาะจง เกี่ยวกับภิกษุที่จะรับผ้ากฐินแต่อย่างใด

สารบัญ

[ซ่อน สารบัญ]

[แก้ไข] ประวัติความเป็นมา

ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลาย รับจีวร จากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้วเช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการ นำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาล จึงค่อนข้างยุ่งยาก และเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน ครั้นชาวบ้านทั้งหลาย เห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาต โดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่นในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้

สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้นับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

[แก้ไข] ประเภทของผ้าป่า

ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือการนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ

  1. ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
  2. ผ้าป่าโยงกฐิน
  3. ผ้าป่าสามัคคี

1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้น ต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อ ทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดกฐินด้วยเลย จึงเรียกว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน

2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอด ตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่นํ้า จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้

3. ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกัน ทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางที่จุดประสงค์ ก็เพื่อร่วมกันหาเงิน สร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆ ฯลฯ

[แก้ไข] พิธีทอดผ้าป่า

ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาส ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญ ที่จะต้องมีก็คือ

  1. ผ้า
  2. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า
  3. ให้อุทิศถวาย ไม่เจาะจง พระรูปใด รูปหนึ่ง

[แก้ไข] การตั้งองค์ผ้าป่า

เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง ๓ อย่าง แล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบนํ้าฝน สมุด ดินสอ ฯลฯ สำหรับเงินหรือ ปัจจัยนั้นนิยมเสียบไว้ กับต้นกล้วยเล็กๆ ในกองผ้าป่านั้น

[แก้ไข] การนำผ้าป่าไปทอด

ในสมัยโบราณ ไม่มีต้องจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงแล้ว ก็จุดประทัด หรือส่งสัญญาณ ด้วยวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือ จะอยู่รอให้พระท่าน มาชักผ้าป่าด้วยก็ได้

แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่า เพื่อแจ้งให้ทางวัด ทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนด ก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือ แตรวง เป็นที่ครึกครื้น สนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพ ต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆ มีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องรำทำเพลงร่วมรำวง กันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ

[แก้ไข] การทอดผ้าป่า

ให้นำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์ กล่าวถวายผ้าป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติ จากหมู่สงฆ์ก็จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า โดยกล่าวคำปริกรรมว่า "อิมัง ปังสุกุลละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ" แปลเป็นใจความได้ว่า "ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า" ต่อจากนั้นพระสงฆ์ จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี

[แก้ไข] ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่า

สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการทอดผ้าป่าก็คือ ผู้ที่ถวายต้องตั้งใจ หรือกล่าวคำถวายอุทิศ แด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้ต้องการผ้าบังสุกุลอย่างเดียว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการถวายผ้าป่า


  • ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.poonporn.com
  • และบางส่วนจาก ธนากิต. วันสำคัญของไทย.กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2541

ทอดผ้าป่า สืบสานประเพณีการทำบุญ

ทอดผ้าป่า สืบสานประเพณีการทำบุญ

พิธีทอดผ้าป่า เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของชาวพุทธคล้ายกับพิธีทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำกัด คือสามารถจะทอดเมื่อไรก็ได้ และวัดหนึ่ง ๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน อีกทั้งยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับภิกษุที่จะรับผ้ากฐินด้วย

ที่มาของการทอดผ้าป่า...ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจาก ชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่นผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบงหรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากและเป็นงานใหญ่

ชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ก็ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบเห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นสบงจีวร จึงกลายมาเป็นพิธีการทอดผ้าป่าในปัจจุบัน

สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่าง ๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ

1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียก
ว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน

2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวม ๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียว
หรือหลายเจ้าภาพก็ได้

3. ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่าง ๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่
กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น โบสถ์
วิหาร ศาลาการเปรียญ ฯลฯ

การทอดผ้าป่า...ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาสวัด ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่าเป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดวันเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ
1. ผ้า
2. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า และ
3. ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง

เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับภิกษุผืนหนึ่งอาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง 3 อย่างแล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบน้ำฝน สมุด ดินสอ ฯลฯ สำหรับเงินหรือปัจจัยนั้นนิยมเสียบไม้ปักไว้กับต้นกล้วยเล็ก ๆ ในกองผ้าป่านั้น

ในสมัยโบราณ ไม่ต้องมีการจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงวัดแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้

แต่ในปัจจุบัน ให้นำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้าป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ก็จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตร มาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า โดยกล่าวคำปริกรรมว่า "อิมัง ปังสุกูลละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ" แปลใจความได้ว่า "ผ้าบังสุกุลผืนนี้ เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกใจเป็นของข้าพเจ้า ต่อจากนั้นพระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี

สิ่งสำคัญที่สุดในการทอดผ้าป่าก็คือ ผู้ที่ถวายต้องตั้งใจหรือกล่าวคำถวายอุทิศแด่ภิกษุสงฆ์ผู้ต้องการผ้า บังสุกุลอย่างเดียว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการถวายผ้าป่า



(คัดลอกบางส่วนจาก ธนากิต. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2541 )

เจ้าคณะภาคใหญ่-เจ้าคณะภาค

เจ้า คณะใหญ่-เจ้าคณะภาค



การปกครองคณะสงฆ์ รองลงมาจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และมหาเถรสมาคมแล้ว แยกย่อยลงไปที่เจ้าคณะใหญ่หนต่างๆ

ฝ่ายมหา นิกายแบ่ง 4 หน ได้แก่ หนกลาง หนใต้ หนตะวันออก และหนเหนือ

ส่วน ฝ่ายธรรมยุต มีเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต

เจ้าคณะภาค ฝ่ายมหานิกายทั้ง 18 ภาค ดังนี้

เขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง มีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เป็นเจ้าคณะใหญ่

พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 1 (กรุงเทพมหานคร-นนทบุรี-ปทุมธานี-สมุทรปราการ), พระธรรมโกศาจารย์ วัดประยุรวงศาวาส กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 2 (พระนคร ศรีอยุธยา-อ่างทอง-สระบุรี), พระเทพปริยัติสุธี วัดบพิตรพิมุข กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 3 (ลพบุรี-สิงห์บุรี-ชัยนาท-อุทัยธานี), พระธรรมเจดีย์ วัดกัลยาณมิตร กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 13 (ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด), พระธรรมคุณาภรณ์ วัดสามพระยา กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 14 (นครปฐม-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-สมุทรสาคร), พระธรรมปริยัติเวที วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เป็นเจ้าคณะภาค 15 (ราชบุรี-เพชรบุรี-สมุทรสงคราม-ประจวบคีรีขันธ์)

เขตปกครองคณะ สงฆ์หนใต้ มีพระพรหมจริยาจารย์ วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง เป็นเจ้าคณะใหญ่

พระ เทพสุธี วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเจ้าคณะภาค 16 (นครศรีธรรมราช-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี), พระเทพปริยัติเมธี วัดชลประทานรังสฤษฏ์ จ.นนทบุรี เป็นเจ้าคณะภาค 17 (ภูเก็ต-ตรัง-กระบี่-พังงา-ระนอง), พระเทพวีราภรณ์ วัดโคกสมานคุณ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นเจ้าคณะภาค 18 (สงขลา-พัทลุง-สตูล-ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส)

เขต ปกครองสงฆ์หนตะวันออก มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กทม. เป็นเจ้าคณะใหญ่

พระ พรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 8 (อุดรธานี-หนองคาย-เลย-สกลนคร-หนองบัวลำภู), พระธรรมปริยัติโมลี วัดทินกรนิมิต จ.นนทบุรี เป็นเจ้าคณะภาค 9 (ขอนแก่น-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด), พระธรรมปริยัติโสภณ วัดโมลีโลกยาราม กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 10 (อุบลราชธานี-ศรีสะเกษ-นครพนม-ยโสธร-มุกดาหาร-อำนาจเจริญ), พระเทพวิสุทธิเมธี วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 11 (นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ชัยภูมิ), พระพรหมสุธี วัดสระเกศ กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 12 (ปราจีนบุรี-นครนายก-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว)

เขต ปกครองสงฆ์หนเหนือ มีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. เป็นเจ้าคณะใหญ่

พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 4 (นครสวรรค์-กำแพงเพชร-พิจิตร-เพชรบูรณ์), พระธรรมปัญญาภรณ์ วัดปากน้ำ กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 5 (พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-ตาก), พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตร กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 6 (ลำปาง-เชียงราย-พะเยา-แพร่-น่าน), พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ กทม. เป็นเจ้าคณะภาค 7 (เชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน)

ศาลาวัด





วัดสะอาด


ศาลาวัด



"ดูวัดให้ดูถาน ดูสมภารให้ดูจั่วน้อย" คำพังเพยโบราณอีสานว่าไว้เป็นคดติสอนใจว่า ถ้าจะดูว่าวัดสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือไม่ ก็ต้องดูห้องน้ำห้องสุขา จะดูสมภารเจ้าวัด น่าเคารพกราบไหว้หรือไม่ ก็ต้องดูวัตรปฏิบัติของพระภิกษุ-สามเณรในวัดนั้น วัดมีบทบาทเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน มากกว่าสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้น

ดัง นั้น ในสายตาของคนทั่วไป จึงมองวัดเป็นสถานที่ที่มีความสะอาดสะอ้าน มีภูมิทัศน์ที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม เงียบสงบร่มรื่น แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป วัดส่วนใหญ่จึงมีพื้นที่อยู่ติดกับชุมชนหรือติดกับร้านค้าตลาดมากมาย บางแห่งมีร้านค้าแผงลอยตั้งเป็นจำนวนมาก

อีกทั้งวัดเป็นทางผ่าน เชื่อมต่อระหว่างชุมชนหนึ่งไปยังอีกชุมชนหนึ่ง มีคนเดินผ่านเข้าออกเป็นจำนวนมาก ทำให้ตามซอกมุมของวัดบางแห่ง มีเศษกระดาษและถุงพลาสติก ตกกองอยู่เกลื่อน วัดบางแห่งยังมีปัญหาที่มีคนมักง่ายนำสัตว์เลี้ยงประเภทหมาแมว มาปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นภาระของวัด ด้วยความสงสาร วัดจำต้องรับเลี้ยงคอยดูแลหาอาหารมาให้สัตว์เหล่านั้น จนบางครั้ง ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ทำให้สภาพภายในวัดสกปรก มีกลิ่นฉี่แมวเหม็นกึก กองขี้หมากระจายไปทั่วบริเวณ

ทำให้ภาพของวัดวาอาราม ที่ควรจะแลดูสะอาดตา เกิดเป็นทัศนะอุจาดไม่น่ามองเป็นอย่างยิ่ง

การ แก้ไขเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องขอความร่วมมือร่วมใจจากพระภิกษุ-สามเณร และพุทธศาสนิกชน รวมทั้งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้วัด คอยดูแลเป็นหูเป็นตา

พ่อแม่ที่มีลูกหลานซุกซน ต้องคอยห้ามปรามมิให้เด็กๆ ขีดเขียนวาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคารหรือในที่สาธารณะนั้น พระสงฆ์เองก็ไม่ควรติดตั้ง ตาก วาง หรือแขวนจีวรสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือที่มองเห็นได้จากที่สาธารณะ โดยไม่ควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย คนที่เดินผ่านไปผ่านมาในวัด ควรห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งปฏิกูลใดๆ ลงบนท้องถนนหรือตามพื้นวัดรถ

ส่วน เรื่องห้องน้ำหรือห้องส้วมก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยเป็นห้องที่มีความสำคัญสำหรับทุกวัด เพราะเป็นห้องที่มีโอกาสสกปรกและเกิดเชื้อโรคได้ง่าย จึงควรต้องทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการมหาเถรสมาคม ก็มีความห่วงใยในเรื่องความสะอาดของวัด พระภิกษุ-สามเณร และประชาชนที่เข้าวัด จึงได้กำชับให้พระสังฆาธิการแต่ละวัด สั่งการให้พระลูกวัดหมั่นดูแลทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ภายในวัด หมั่นล้างทำความสะอาดกุฏิ ห้องน้ำ ห้องเก็บของให้สะอาด รวมทั้งการซักล้างผ้าจีวรให้สะอาด ตากแดดให้แห้ง

ทุกฝ่าย จึงควรให้ความสำคัญต่อการดูแลรักษาวัดให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ

อยู่เพื่อพัฒนากรรม ไม่ใช่อยู่เพื่อใช้กรรม

อยู่เพื่อพัฒนากรรม ไม่ใช่อยู่เพื่อใช้กรรม

ถาม : มีคำเก่าได้ยินมานานแล้วประโยค หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับกรรมเก่า คือที่พูด “คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า” ถ้าเชื่ออย่างนี้จะถูกหรือผิดอย่างไร?

พระธรรมปิฎก : ความเชื่ออย่างนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา และต้องระวังจะเป็นลัทธินิครนถ์ ที่พูดกันมาอย่างนั้น ความจริงก็คงประสงค์ดี คือมุ่งว่าถ้าเจอเรื่องร้ายก็อย่าไปซัดทอดคนอื่น และอย่าไปทำอะไรที่ชั่วร้ายให้เพิ่มมากขึ้นด้วยความโกรธแค้นเป็นต้น แต่ยังไม่ถูกหลักพระพุทธศาสนา และจะมีผลเสียมาก

ถาม : ที่ว่าเป็นลัทธินิครนถ์ เป็นอย่างไร?

พระธรรมปิฎก : ลัทธินิครนถ์ ซึ่งก็มีผู้นับถือในสมัยพุทธกาลจนกระทั่งในอินเดียทุกวัน เป็นลัทธิกรรมเก่าโดยตรง เขาสอนว่า คนเราจะได้สุขได้ทุกข์อย่างไรก็เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน และเขาสอนต่อไปว่า ไม่ให้ทำการใหม่ และทำกรรมเก่าให้หมดสิ้นไปด้วยการบำเพ็ญตบะ จึงจะสิ้นกรรมสิ้นทุกข์ นักบวชลัทธินี้จึงบำเพ็ญตบะทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ (ดูเทวทหสูตร,ม.อุ.๑๔/๑/๑)

คนที่พูดว่า เราอยู่ไปเพื่อใช้กรรมเก่านั้น ก็คล้ายกับพวกนิครนถ์นี่แหละ คิดว่าเมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปๆ กรรมเก่าก็คงจะหมด ต่างแต่ว่าพวกนิครนถ์ไม่รอให้กรรมเก่าหมดไปเอง แต่เขาบำเพ็ญตบะเพื่อทำกรรมเก่าให้หมดไปด้วยความเพียรพยายามของเขาด้วย

ถาม : เมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปกรรมเก่าก็น่าจะหมดไปเองไม่ใช่หรือ?

พระธรรมปิฎก : ไม่หมดหรอก จะชดใช้กรรมเก่าไปเท่าไร ก็ไม่มีทางหมดไปได้

ถาม : ทำไมล่ะ?

พระธรรมปิฎก : จะหมดไปได้อย่างไรล่ะ เหตุผลง่ายๆ คือ

๑. คนเรายังมีชีวิต ก็คือเป็นอยู่ ต้องกินอยู่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำโน่นทำนี่ เมื่อยังไม่ตายก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ

๒. คนเหล่านี้เป็นมนุษย์ปุถุชน ก็มีโลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะความหลง หรือโมหะ นี้มีอยู่ประจำในใจตลอดเวลา เพราะยังไม่ได้รู้เข้าใจความจริงถึงสัจธรรม

เมื่อรวมทั้งสองข้อนี้ก็คือ คนที่อยู่เพื่อใช้กรรมนั้น เขาก็ทำกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ไม่รู้ตัว แม้จะไม่เป็นบาป กรรมที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นการกระทำที่ประกอบด้วยโมหะ เช่นกรรมในรูปต่างๆ ของความประมาท ปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อย

ถ้ามองลึกเข้าไปในใจ โลภะ โทสะ โมหะ ก็โผล่ขึ้นมาในใจของเขาอยู่เรื่อยๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น เศร้า ขุ่นมัว กังวล อยากโน่นอยากนี่ หงุดหงิด เหงา เบื่อ หน่าย กังวล คับข้อง ฯลฯ อย่างนี้ไม่มีทางสิ้นกรรม ชดใช้ไปเท่าไรก็ไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่เพิ่มกรรม

ถาม : แล้วทำอย่างไรจะหมด กรรม?

พระธรรมปิฎก : การที่จะหมดกรรม ก็คือ ไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น คือแม้แต่กรรมดีก็เปลี่ยนให้ดีขึ้น จากระดับหนึ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง พูดเป็นภาษาพระว่า เปลี่ยนจากคำอกุศลกรรม เป็นทำกุศลกรรม และทำกุศลระดับสูงขึ้นไปจนถึงขั้นเป็นโลกุตตรกุศล ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ก็พูดว่า พัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้น เราก็จะมีศีล มีจิตใจ มีปัญญา ดีขึ้นๆ ในที่สุดก็จะพ้นกรรม

เทคนิคทำให้หายโกรธ

เทคนิคทำให้หายโกรธ

ความโกรธ คืออารมณ์เดือดพล่านที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ในยามที่เราต้องเกี่ยวข้องผู้อื่น
อ่านเทคนิควิธีทำให้หายโกรธแบบง่าย ๆ
ท่านสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตครอบครัวและการทำงาน

วิธีที่ ๑. ยามใดเมื่อเราโกรธ เราต้องรู้ตัวของเราเองว่า เรากำลังได้รับพิษร้ายเข้าไปแล้ว
ควรสร้างความรู้สึก"สะดุ้งกลัว"ขึ้นมาทันที และ พยายามระงับความโกรธนั้นไว้
ไม่ให้พิษโกรธกำเริบแสดงเป็นกริยาอาการอะไรออกมาอย่างเด็ดขาด
ด้วยการพิจารณาโทษของความโกรธให้มากที่สุด

ตัวอย่างวิธีคิด

"หากเราโง่เขลาคิดตอบโต้ผู้อื่นด้วยความโกรธเมื่อใด
พิษร้ายของความโกรธก็จะเพิ่มขึ้นและหมักหมมอยู่ในใจมากขึ้นทุกที
มันจะคอยออกมาเผาลนจิตใจของเราไปชั่วกาลนาน
เสมือนหนึ่งเราได้สร้างนรกให้เกิดขึ้นในใจของตัวเอง "

(เป็นการนำคุณธรรมข้อ "โอตตัปปะ"หรือ "ความสะดุ้งกลัว" มาอธิบาย
ให้ตัวเองเห็นถึงผลร้ายของความโกรธ / สุตตันต.เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๑ หน้า ๑๔ )


วิธีที่ ๒ มองเห็นผลดีของการระงับความโกรธด้วยเมตตา ว่าทำให้เรานอนหลับฝันดี
มีเพื่อนเยอะแยะ ใครเห็นใครก็รักไคร่ มีสุขภาพจิตดี มีความสุขตลอดเวลา
โห..คุ้มค่าจริง ๆ เลย
(ดูอานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ / สุตตันต.เล่ม ๑๖ ข้อ ๒๒๒ หน้า ๓๖๑ )

วิธีที่ ๓. เมื่อรู้สึกโกรธ หรือ เคืองใจใครก็ตาม ให้ตั้งสติระลึกนึกถึงความดีของคน ๆ นั้นไว้ในใจ
เช่นเขาเคยทำดีอะไรให้แก่เราบ้างไหม หรือ เขามีส่วนดีอื่นๆ ที่น่าประทับใจอะไรบ้าง
นึกอย่างนี้มาแทนความคิดไม่ชอบใจ ความโกรธก็จะหายไปเอง
ตัวอย่าง
"นายมีโกรธนายแดงที่พูดจาดูถูกตน แต่พอนายมีนึกถึงเมื่อครั้งนายแดงเคยช่วยมา
ทาสีบ้านให้ทั้งวันเมื่อปีที่แล้ว นายมีก็หายโกรธนายแดง"
"คุณเจ ไม่ชอบหน้าคุณจอนเลย เพราะคุณจอนชอบพูดจากวนประสาท แต่คุณเจก็
พยายามคิดว่าคุณจอนถึงแกจะชอบพูดกวนประสาท แต่แกก็ยังดีที่ไม่กินเหล้าสูบบุหรี่
คิดได้ดังนี้คุณเจ ก็เกิดความรู้สึกที่ดีต่อคุณจอนขึ้นมาบ้าง "
(ดู วิธีระงับความอาฆาต ด้วยการมองเห็นความดีของเขา /สุตตันต.เล่ม๑๔
ข้อ ๑๖๑-๑๖๒ )


วิธีที่ ๔ เมื่อโกรธคนใกล้ตัว เช่น แฟน , พี่น้อง , เพื่อนร่วมงาน หรือ โกรธคนไกลตัวเช่น
นักการเมือง ฯลฯ
ให้ลองนึกมโนภาพหน้าตาของเขาให้เป็นเด็กเล็ก ๆ อายุสัก 1-2 ขวบ
โดยให้คิดเหมือนกับ ว่าเขาเป็นลูกของเรา สร้างความรู้สึกเอ็นดูเมตตาเหมือน
พ่อแม่รักลูก ความโกรธจะหายไปเป็น ปลิดทิ้ง วิธีนี้แม้ดูง่าย ๆ และ น่าขำ แต่ก็
สามารถทำให้หายโกรธได้ผลเป็นอย่างดีเลยทีเดียว
( ดูคำสอนเรื่องให้รักผู้อื่นเหมือนมารดารักบุตร /สุตตันต เล่ม๑๗ ข้อ ๑๐ หน้า ๑๑ )

วิธีที่ ๕ คิดตั้งหลายวิธีแล้วก็ยังไม่หายโกรธ มาลองใช้วิธี "ไม่คิด" ดูก็ได้ ด้วยการ
หายใจเข้าปอดลึก ๆ ยาว ๆ ทำลมหายใจให้ละเอียด (นึกจินตนาการว่าลมหายใจ
ของเราเป็นอะไรบางอย่างที่ละเอียด อ่อน บางเบา ในขณะที่หายใจ ) หายใจเข้า
ออกติดต่อกันสัก ๑๐ ครั้ง ความโกรธก็จะสลายหมดไป กลายเป็นความสบายใจ
มาแทนที่
(ดูอานิสงส์อานาปาส ติ ทำให้เกิดปีติ สุข จิตใจสงบระงับ ร่าเริง / สุตตันต.เล่ม ๖
ข้อ ๒๘๘ ข้อ ๑๗๐)


วิธีที่ ๖ วิธีนี้ง่ายที่สุด เหมาะสำหรับเพื่อนสนิท หรือ คู่รัก ในยามที่เกิดความไม่เข้าใจกัน
หรือ ทะเลาะกันจนต่างฝ่ายต่างโกรธ นั่นคือ "การให้ของขวัญ" เป็นวิธีแก้ไข
ปัญหาความโกรธที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง วิธีนี้เป็นการแสดงออกที่ทำให้หายโกรธ
ทั้งผู้ให้และผู้รับ
(ดูสังคหวัตถุ ๔ คือ การให้ พูดจาไพเราะ ช่วยเหลือเจือจาน ร่วมทุกข์ร่วมสุข สมานไมตรีไว้ตลอดกาล/
สุตตันต.เล่ม๓ ข้อ๒๖๗ หน้า๒๒๐)


วิธีที่ ๗ ให้มองว่าทั้งตัวเราและคนที่เราคนโกรธ ต่าง เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น
คือ ไม่มีใครสามารถรอดจากความทุกข์ แก่ เจ็บ ตายได้สักคน ให้คิดจินตนาการ
มองเห็นคนที่เรากำลังโกรธอยู่ เห็นภาพในอนาคตสมมุติว่าเขากำลังป่วยหนัก
ใกล้ตาย เขาจะต้องพบกับความทุกข์ทรมานแค่ไหน จากนั้นให้หวนคิดถึงตัวเราเองว่า
เราเองสักวันหนึ่งก็ต้องพบกับความทุกขทรมานและความตายเหมือนเขาเช่นเดียวกัน
พวกเราล้วนตกอยู่ภายใต้ชะตากรรมเดียวกันด้วยกันทั้งนั้น แล้วจะมามัวโกรธกันอยู่ทำไมกัน
(ดูบทสวดมนต์แผ่ เมตตา)
ข้อ ๒๘๘ ข้อ ๑๗๐)


วิธีที่ ๘ ใช้วิธีกราบพระเพื่อระงับความโกรธ
การกราบพระทำให้จิตใจเกิดความอ่อนน้อม หมดความมานะถือตัว สภาพจิตใจเช่นนี้
ความโกรธเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นหากท่านใช้วิธีระงับโกรธหลายวิธีแล้วยังไม่ได้ผล
ขอแนะนำให้ใช้วิธีกราบพระ ท่านว่าได้ผลชงัดนัก วิธีง่าย ๆ เมื่อใดที่โกรธ
ให้ก้มลงกราบพระทันที และในขณะที่ท่านกราบพระ ให้นึกถึงใบหน้าของ
คนที่ท่านโกรธ ท่านจะพบด้วยตนเองว่าตราบใดที่ท่านยัง
กราบพระอยู่ ความโกรธจะไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้เลย

( จากเทคนิควิธีกำราบความโกรธส่วนตัวของหลวงพ่อบุดดา ถาวโร )

ธรรมกับชีวิตประจำวัน

" ถูกนินทาว่าร้าย คิดอย่างไรจึงจะหายทุกข์ "

    1. เป็นธรรมดาของโลก ให้คิดว่านี่เป็นธรรมดาของโลก ไม่เคยมีใครสักคนบนโลกนี้ที่รอดพ้นจากคำนินทา เพราะแม้แต่พระพุทธเจ้าของเรา ขนาดท่านเป็นผู้ที่ประเสริฐบริสุทธิ์สูงสุด แต่ท่านก็ยังไม่พ้นถูกคนพาลกล่าวโจมตีว่าร้ายจนได้ แล้วนับประสาอะไรกับเราที่เป็นแค่คนธรรมดาสามัญที่ยังมีทั้งดีและชั่วจะรอด พ้นปากคนนินทาไปได้ คิดอย่างนี้แล้วจะได้สบายใจว่า การถูกนินทานี่เป็นแค่เรื่องธรรมดา เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลก (โลกธรรม) และ ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย

    2. ให้มีจิตใจมั่นคงดุจภูผา ถ้าเรามีความบริสุทธิ์ใจ ทำการงานด้วยความตั้งใจปรารถนาดี แต่แล้วก็ยังไม่พ้นถูกคนนินทา กล่าวร้ายว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ขอให้เรามีความมั่นใจในความดีของเรา อุปมาภูผาหินแท่งตันไม่หวั่นไหวในลมพายุฉันใด บัณฑิตผู้มีจิตใจหนักแน่นในความดี ย่อมไม่หวั่นไหวในคำสรรเสริญ และ คำนินทาแม้ฉันนั้น

    3. ให้มีจิตเมตตาสงสารผู้นินทา ให้คิดด้วยความเมตตากรุณาว่า คนที่นินทาเรานั้น ย่อมกระทำไปด้วยความอิจฉาริษยา เขาจะต้องเผาลนจิตใจของเขาให้ร้อนรุ่มเสียก่อน จึงจะสามารถพูดนินทาว่าร้ายคนอื่นออกมาได้ ให้คิดเมตตาสงสาร แทนที่จะไปโกรธเคืองเขา
    อนึ่ง คนที่ชอบกล่าววาจาส่อเสียด หรือ ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น โดยปรกติเขาย่อมเป็นผู้หามิตรสหายที่ใกล้ชิดไม่ค่อยได้ เพราะไม่เคยมีใครไว้วางใจคนที่ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น ให้คิดเห็นใจเขาในฐานะที่เขาต้องเป็นผู้อยู่ในโลกนี้ด้วยความรู้สึกโดด เดี่ยว เพราะเขาย่อมหาเพื่อนแท้ไม่ได้

    4. คิดหาประโยชน์จากคำนินทา คนที่คิดกล่าวร้ายเรา บางทีเขาต้องไปนั่งคิดนอนคิดหาจุดอ่อนในตัวของเรา เพื่อเอามาพูดโจมตี บางทีจุดอ่อนเหล่านี้ตัวเราเองก็มีอยู่จริงแต่ทว่าเราไม่รู้ตัวมาก่อน นี้เป็นประโยชน์มาก เพราะเราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาปรับปรุงตนเองได้ ดังนั้นเราจึงควรที่จะขอบคุณคนนินทาเรา เพราะเขาอุตส่าห์ไปนั่งคิดนอนคิดช่วยค้นหาข้อมูลมาช่วยให้เราปรับปรุงตนเอง

    5. คิดวิเคราะห์ให้เห็นปัญหาสังคม สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง คือเน้นเรื่องการใช้อำนาจครอบงำกันและกัน จึงมีการปลูกฝังสอนให้คิดแข่งดีแข่งเด่น คิดเหนือผู้อื่น สอนให้อยากเป็นใหญ่เป็นโต (มานะ) มาตั้งแต่โบราณ (คาดว่าไม่ต่ำกว่าห้าร้อยปี คือตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น) ทำให้คนไทยเรา เวลาเห็นใครทำดี ก็มักจะเกิดความริษยาโดยไม่รู้ตัว คือทนไม่ได้ที่จะเห็นคนอื่นดีกว่าตน สังคมที่มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเช่นนี้ ผู้คนจึงมักจะชอบนินทาว่าร้ายกันและกันเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าคิดวิเคราะห์ได้เช่นนี้แล้วก็สบายใจ ไม่ต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจอะไรมาก ให้ถือว่าการที่เราถูกนินทานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ทางสังคมก็แล้ว กัน มันเป็นเช่นนั้นเอง
    ในอนาคตไม่แน่ หากมีการศึกษาเรื่องพุทธธรรมกับสังคมไทยกันอย่างจริงจัง บางทีเราอาจจะสามารถเปลี่ยแปลง ความสัมพันธ์ทางสังคมจาก "แนวดิ่ง" ให้เป็น "แนวราบ" คือ คนไทยมีความเสมอภาคกัน ไม่ถืออำนาจเป็นใหญ่ แต่ถือความถูกต้องดีงามเป็นใหญ่ เมื่อถึงเวลานั้นสังคมที่เต็มไปด้วยการนินทาว่าร้ายก็จะลดน้อยลงไปเองตาม ธรรมชาติ แล้วภาษิตยอดฮิตที่ว่า "สังคมเสื่อมถอยเพราะคนดีท้อแท้" หรือ "ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย" จะได้เลิกใช้กันเสียที

ภาพกิจกรรมต่างๆ

แผนที่แสดงเส้นทางวัด

จากตัวจังหวัดอุทัยธานี - เข้าอำเภอทัพทัน - เข้าตำบลพลวงสองนาง - เข้าบ้านเขาผาลาด - เข้าบ้านหนองสมบูรณ์ - ถึงวัดหนองสมบูรณ์

คณะกรรมการ

1. พระอธิการบุญช่วย เจ้าอาวาสวัด 
2. นายประกอบ เหล่ากสิการ ข้าราชการครูบำนาญ
3. นายมงคล  ทองเกล็ด  ร้านทิพย์มงคล
4. นายถี่  บุญช่วย
5. นายสำเริง  พวงสมบัติ
6. นายสมนึก  พวงสมบัติ    ผู้ใหญ่บ้าน  ม. 6

ของฝากจากทางวัด

ประทีปธรรมนำสร้างทางชีวิต

ส่องนำจิตชี้ทางสว่างไสว

ประทีปธรรมดั่งแสงทองผ่องอำไพ

สุขกายใจดุจแสงธรรมนำส่องทาง

ประวัติ

วัดหนองสมบูรณ์ ก่อตั้งเมื่อ dfhfhj